วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ค่านิยมของสังคมไทย

        ค่านิยมของสังคมไทย ค่านิยมของสังคมไทยมีมากมาย และบางอย่างก็เป็นค่านิยมที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่บุคคล ผู้ถือปฏิบัติและแก่สังคม แต่บางอย่างก็อาจก่อให้เกิดผลเสียแก่สังคม เช่น ค่านิยมเกี่ยวกับความ หรูหราอยากมีหน้ามีตา การเชื่อถือโชคลาง ในที่นี้จะกล่าวถึงค่านิยมเด่นๆ ของสังคมไทยบาง ประการ ซึ่งจะเป็นค่านิยมที่ก่อให้เกิดผลดีหรือไม่ดีก็ตาม ดังนี้

๑. นิยมความร่ำรวย มั่งคั่ง ทุกคนอยากจะได้ อยากจะมีทรัพย์สินเงินทอง รถยนต์ บ้าน ที่ดิน ฯลฯ คนที่ร่ำรวยจะเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในสังคม และจะต้องการสิ่งใดย่อมได ้ตามความ ประสงค์ เงินจะซื้อสิ่งต่างๆได้ ดังนั้นทุกคนจึงต่อสู้ดิ้นรน เพื่อให้ได้มาซึ่งความมั่งคั่ง



๒. นิยมอำนาจ คนไทยให้ความสำ คัญแก่ผู้มีอำนาจ และอยากจะเป็นคนที่มีอำนาจ ถ้า ตนเองไม่มีโอกาส ก็จะส่งเสริมลูกหลานของตนให้แสวงหาอำ นาจ ผู้มีอำนาจในสังคมไทยส่วนใหญ่ คือ ผู้มีตำแหน่งหน้าที่ราชการ ดังนั้น คนไทยจึงนิยมส่งเสริมบุตรหลานให้เข้ารับราชการ นอกจาก ข้าราชการแล้ว ผู้ที่อาจมีอำ นาจอื่นๆ ได้แก่ นักการเมือง ปัจจุบัน อำนาจอาจซื้อด้วยเงิน ดังจะพบ ได้จากการใช้เงินซื้อเสียง เพื่อให้ได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎร การซื้อตำแหน่งต่างๆ

๓. เคารพผู้อาวุโส ผู้อาวุโสได้แก่ ผู้มีอายุมากกว่า มีคุณวุฒิสูงกว่า มีชาติสกุลสูงกว่า มี ตำ แหน่งสูงกว่า เช่น นักเรียนรุ่นพี่ พี่ป้าน้าอา พ่อแม่ ครูอาจารย์ หม่อมเจ้า การเคารพผู้มีอาวุโสได้ รับการปลูกฝังสืบต่อกันมา จนเป็นวิถีชีวิตที่ยังปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง ค่านิยมในการเคารพผู้ อาวุโสมีแนวโน้มลดลงในปัจจุบัน

๔. รักความสนุก กิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้นมักจะสอดแทรกกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความสนุกสนาน ไว้ด้วย แม้แต่งานศพ ก็ยังมีกิจกรรมที่แสดงถึงการรักความสนุก เช่น มีการแสดงก่อนการเผาศพ และฉลองเมื่อเผาศพแล้ว คนไทยรักความสนุกสนาน ตั้งแต่เกิดไปจนตาย เริ่มตั้งแต่งานฉลองวัน เกิด งานฉลองวันแต่งงาน จนถึงงานศพ


๕. บริโภคนิยม คนไทยส่วนใหญ่สนใจเรื่องการบริโภคมาก ชอบเสาะแสวงหาอาหารรับ ประทาน ชอบคิดปรุงอาหารแปลกๆรับประทาน เมื่อเปิดร้านอาหาร ใครพบร้านอาหารที่มีอาหาร แปลกๆ หรือรสอร่อย ก็จะมีคนพากันไปรับประทาน แม้จะแพง หรือ ไกล เขาก็จะพยายามไปรับ ประทานอาหารที่ร้านนั้น อีกสิ่งหนึ่งที่พบคือ ไม่ว่าในงานพิธีใดๆ จะต้องมีกิจกรรมการกินเลี้ยงอยู่ เสมอ แม้แต่เมื่อทำ งานเสร็จโปรแกรมหนึ่งๆ เรียนผ่านการศึกษาไปภาคเรียนหนึ่งๆ ก็ยังมีการเลี้ยง ฉลองกัน ๖. นิยมความหรูหรา ความมีหน้ามีตา ซึ่งจะแสดงออกทางการแต่งตัวประกวดกัน การจัด งานประกวดกันว่า ใครจะจัดงานได้ใหญ่กว่า การทำ บุญ ว่าใครจะทำ บุญมากกว่ากัน การมีเครื่องใช้ ที่ทันสมัย ราคาแพงไม่น้อยหน้ากัน ๗. นิยมเครื่องรางของขลัง และเชื่อโชคลาง การจะกระทำ กิจกรรมใดๆ มักต้องอาศัยลาง ต่างๆที่อาจเกิดขึ้น หรือถ้าประสบภัย ก็มักจะมีการสะเดาะเคราะห์ และขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ ๘. นิยมการทำ บุญสร้างวัด ปิดทอง ฝังลูกนิมิต โดยเชื่อว่าจะได้บุญมากในชาติหน้า คนไทย ส่วนใหญ่ต่างก็พยายามเข้าร่วมในกิจกรรมการทำ บุญ แม้จะด้วยความยากลำ บากก็ยอม อย่างไร ก็ตาม ค่านิยมนี้มีแนวโน้มลดลง เพราะสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนไป คนมากขึ้น ทรัพยากรลดลง

ที่มา: ตัดตอนจาก “พื้นฐานวัฒนธรรมไทย” โดย ณรงค์ เส็งประชา หน้า ๔๓ – ๔๔

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น