สังคมมนุษย์นั้นเรามีความเชื่อว่าค่านิยมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการกำหนดพฤติกรรมของบุคคล เพราะค่านิยมจะ
เป็นเครื่องตัดสิน กำหนดหรือผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมไปทางใดทางหนึ่ง ดังนั้นค่านิยมจึงเป็นพลังที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใต้
พฤติกรรมทางสังคมส่วนใหญ่ของมนุษย์ (สมาน ชาลีเครือ, 2523 )
                นอกจากนี้ค่านิยมยังเป็นเครื่องชี้แนวทางและลักษณะความประพฤติของคนในสังคมดังนั้นการปลูกฝังและพัฒนา
ค่านิยมอันดีงามให้เกิดขึ้นแก่คนในชาติจึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องกระทำโดยไม่ชักช้า และจะต้องมีการกระทำที่ต่อเนื่องใน
ทุกระดับการศึกษา (พนัส หันนาคินทร์, 2520 ) เพราะพลังอำนาจแห่งชาติจะมั่นคงเพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับคนภาพของคน
ในชาติ ซึ่งย่อมจะประพฤติและปฏิบัติตามค่านิยมที่ตนยอมรับนับถืออยู่ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าสังคมจะเจริญก้าวหน้าหรือเสื่อม
ไปในทิศทางใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับค่านิยมของสังคมเป็นสำคัญเพราะฉะนั้นการสร้างค่านิยมที่ถูกต้องและเหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็น
อย่างยิ่งในการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าให้เกิดขึ้นในสังคม (อานนท์ อาภาภิรมย์ ,2517 ) ค่านิยมของสังคมจึงมีความสำคัญ
ต่อการแสดงพฤติกรรมของคนในสังคม เนื่องจากค่านิยมเป็นตัวควบคุมการตัดสินใจของคนในสังคม จึงมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพ
และอุปนิสัยใจคอของคนส่วนมาก (อารง สุทธาศาสน์และคณะ ,2525 )
  1. ความหมาย  
ค่านิยม (หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา,2529) หมายถึง ความเชื่อของบุคคลส่วนใหญ่ที่เชื่อว่าสิ่งใดมีค่า มีความสำคัญ
และเป็นที่ปรารถนาในขณะที่สิ่งอื่นมีค่า มีความสำคัญน้อยกว่า หรือไม่เป็นที่ต้องการ ในลักษณะดังกล่าวค่านิยมจึงเป็นมาตรฐาน
ในการรับรู้ การประเมิน การเลือก และการตัดสินใจของบุคคลว่าควรทำหรือไม่ควรทำ มีค่าหรือไม่มีค่า สำคัญหรือไม่สำคัญ
 นอกจากนี้ค่านิยมยังทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดเป้าหมาย และสร้างแรงจูงใจ ผลักดันให้บุคคลมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
โดยไม่มีเงื่อนไขว่าจะต้องก่อให้เกิดความดีแก่สังคมด้วยหรือไม่
                ไพฑูรย์ เครือแก้ว (ไพฑูรย์ เครือ แก้ว, 2518 ) กล่าวว่า “ค่านิยมของสังคมหมายถึงสิ่งที่คนสนใจ สิ่งที่คนปรารถนา
จะได้ ปรารถนาจะเป็นหรือกลับกลายมาเป็นสิ่งที่คนถือว่าเป็นสิ่งบังคับ ต้องทำปฏิบัติ เป็นสิ่งที่คนบูชายกย่องและมีความหมาย
ต่อบุคคลและเป็นแบบฉบับความคิดที่ฝังแน่นสำหรับยึดถือในการปฏิบัติตัวของคนในสังคม”
                พอสรุปได้ว่า “ค่านิยม” หมายถึงความรู้สึก ซึ่งประกอบไปด้วยความนิยมชมชอบ พอใจ ยกย่องบูชา ต้องการ
และการตีค่าสิ่งต่างๆ โดยพิจารณาคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งนั้นในเชิงจิตวิทยา สังคม จริยศาสตร์ ศาสนา
และสุนทรียศาสตร์ เมื่อบุคคลพิจารณาตัดสินแล้วบุคคลจะยึดถือตามคุณลักษณะนั้นต่อไป เช่น เมื่อบุคคลใดมีค่านิยมต่ำในสิ่งใด
ก็จะแสดงออกในการยอมรับนับถือในสิ่งนั้นในอันดับต่ำ ค่านิยมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการกำหนดแบบฉบับบุคลิกภาพ
หรือลักษณะของการประพฤติปฏิบัติของบุคคลในสังคม และจะส่งผลต่อคุณภาพของสังคมที่บุคคลเป็นสมาชิกอยู่
  1. ประเภทของค่านิยม
                 สาโรธ บัวศรี (2527 ) กล่าวว่า การแบ่งประเภทของค่านิยมกระทำได้หลายวิธี แล้วแต่ว่าผู้แบ่งจะยึดอะไร
เป็นพื้นฐานในการการแบ่ง ไม่มีการแบ่งที่เป็นการตายตัวอย่างเพียงอย่างเดียว ถ้าผู้แบ่งยึดถือพระผู้เป็นเจ้าหรือพระศาสดา
เป็นหลักสำคัญ ก็อาจจะแบ่งค่านิยมออกได้ เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
  1. ค่านิยมที่เป็นศีลธรรม (Morality) หมายถึงค่านิยมที่เป็นศีล และธรรมโดยเฉพาะหรือได้แก่ Moral Values 
  2. และ Ethical Values โดยเฉพาะ ซึ่ง ถือเอาพระศาสดาหรือพระผู้เป็นจ้าได้กำหนดไว้ให้แล้ว
  3. ค่านิยมที่เป็นข้อตกลง (Convention) หมายถึงค่านิยมที่ประชาชนในชาติได้ตกลงเห็นชอบกำหนดกันขึ้นเอง
  4. ไม่ว่าจะเป็นโดยทางตรงหรือทางอ้อม ตามยุคตามสมัย ได้แก่ธรรมเนียมประเพณีอุดมการณ์ วินัย กฎหมาย ฯลฯ
                 แต่ถ้าแบ่งยึดถือเอาวิชาชีพ (Profession) เป็นหลักสำคัญก็อาจจะแบ่งค่านิยมออกเป็น 2 ประเภท เช่นกัน คือ
  1. ค่านิยมพื้นฐาน (Basic Values) ประกอบด้วยค่านิยมดังต่อไปนี้
                        ศีลธรรม (Moral Values)
                        คุณธรรม (Ethical Values)
                        ธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม (Cultural Values)
                        กฎหมาย (Legal Values)
  1. ค่านิยมวิชาชีพ ประกอบด้วยค่านิยมต่อไปนี้
                        อุดมการณ์ประจำวิชาชีพของตน เช่น นักการศึกษา อาจมีอุดมการณ์ 3 ประการ คือวิชาการ วิจัย
การใช้ความคิดใหม่
                        วินัยประจำวิชาอาชีพของตน
                        มารยาทประจำวิชาชีพของตน
                        พระราชบัญญัติประจำวิชาชีพของตนโดยเฉพาะ
                 ในการแบ่งประเภทของค่านิยมทั้งสองประการดังกล่าวมาแล้วจะเห็นว่า เนื้อหานั้นเหมือนกัน แต่วิธีการแบ่งนั้นต่างกัน
 ทั้งนี้อาจจะยังมีวิธีอื่นๆ อีกแล้วแต่จุดประสงค์ของผู้แบ่ง เช่น อี.สแปรนเจอร์ (E. Spranger) ได้จำแนกลักษณะของค่านิยม
โดยการพิจารณาตามลักษณะการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสังคมด้านต่างๆ ออกเป็น 6 ประเภท คือ
  1. ค่านิยมทางทฤษฎีหรือวิชาการ (Theoretical Value) ได้แก่ ค่านิยมที่จะศึกษาหาความรู้ความจริง เหตุผล 
  2. ค่านิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Value) เป็นค่านิยมที่ทำให้บุคคลแสวงหาประโยชน์ทรัพย์สิน
  3. ค่านิยมทางสุนทรียภาพ (Aesthetic Value) เกี่ยวข้องกับความชื่นชม พึงพอในในความงามความเหมาะสม 
  4. ค่านิยมทางสังคม (Social Value)ได้แก่ความรักเพื่อนมนุษย์ ความต้องการที่จะทำประโยชน์ให้เพื่อมนุษย์
  5. ค่านิยมทางการเมือง (Political Value) คือ ความนิยมอำนาจอิทธิพลและชื่อเสียง
  6. ค่านิยมทางศาสนา (Religious Value) ได้แก่ ความเชื่อและความยึดถือในศาสนา 
                   นอกจากนี้ยังมีนักสังคมวิทยาได้จำแนกลักษณะของค่านิยมตามกลุ่มคน 
  1. 3.              ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ
                  ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ที่คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้เชิญชวนให้ทุกคนร่วมกันส่งเสริม
ปลูกฝังและปฏิบัติตาม คือ
  1. การพึ่งตนเอง ขยันมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ
  2. การประหยัดและออม
  3. การมีระเบียบวินัย และเคารพกฎหมาย
  4. การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา
  5. ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
                  จากค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ แบ่งออกได้ 3 ประเภท ตามผลที่เกิดขึ้นหรือจุดหมายปลายทางที่ต้องการสำหรับ
ส่วนบุคคล (ตนเอง) ส่วนสังคม และประเทศชาติ คือ
                1.ค่านิยมเกี่ยวกับตนเอง ได้แก่ ค่านิยมการพึ่งตนเอง ขยันหมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบกับค่านิยมการ
ประหยัดและออม
                2.ค่านิยมเกี่ยวกับสังคมได้แก่ ค่านิยมการมีระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย กับค่านิยมการปฏิบัติตาม     
   คุณธรรมของศาสนา
                3.ค่านิยมเกี่ยวกับชาติ ได้แก่ ค่านิยมความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์